ทำอย่างไร…? เมื่อเพื่อนร่วมงานทยอยลาออก เหลือเราคนเดียว

ทำอย่างไร…? เมื่อเพื่อนร่วมงานทยอยลาออก เหลือเราคนเดียว

‘เพื่อนร่วมงานทยอยลาออก เหลือเราทำงานอยู่คนเดียว’

‘อยากหาที่ทำงานใหม่ จะลาออกตามเพื่อน’

‘หมดไฟ ไม่มีทีมเวิร์คที่เคยทำงานด้วยแล้ว คิดอะไรไม่ออกเลย’

หลาย ๆ คนอาจเกิดความคิดเหล่านี้ เมื่อเพื่อนร่วมงานทยอยลาออกกันทีละคน สองคน จนหมดทีม เหลือเราทำงานอยู่คนเดียว แถมยังมีน้องใหม่ที่มาแทนคนเก่า ต้องมานั่งปรับตัวกันอีก ทำให้เกิดความคิดหนึ่งเข้ามาในหัวว่า ‘อยากลาออกจังเลย’ ประกอบกับสภาะวะหมดไฟ คิดงานไม่ออก ไม่ตื่นตัวเหมือนช่วงแรก ๆ ที่เข้ามาทำงาน

ช้าก่อน…นี่อาจไม่ใช่ความคิดที่แท้จริงของคุณ ลึก ๆ แล้ว อาจเป็นอารมณ์ความรู้สึกที่อยู่ในช่วงของการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงอยู่ก็ได้ค่ะ แล้วจะทำอย่างไรดี? ก่อนจะวู่วาม ลาออกให้จบ ๆ ไป ฮ่าๆ

.

วันนี้เรามีบทความจาก Nihar Chhaya โค้ชผู้บริหารมากประสบการณ์ ร่วมงานกับบริษัทระดับโลกอย่าง American Airlines และ Coca-Cola ได้เขียนเล่าประสบการณ์และวิธีรับมือเมื่อต้องเจอปัญหาเหล่านี้

.

ให้เวลากับตัวเอง

ไม่แปลกเลยถ้าคุณจะรู้สึกใจหายและหดหู่กับการเปลี่ยนแปลงที่เร็วจนไม่ทันได้ตั้งตัว ความคิดอยากจะลาออกตามเพื่อน ก็เป็นเรื่องปกติ คุณอาจคิดว่าเพื่อนร่วมงานของเราได้ไปมีอนาคตที่ดีกว่า ได้ร่วมงานกับองค์กรใหม่ ต้องดีแน่เลย แต่ในความเป็นจริง เราไม่อาจรู้ได้ว่าเพื่อนเราต้องเจอกับอะไรบ้าง การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอาจจะไม่ได้ดีอย่างที่คิดก็ได้

.

สิ่งที่เราต้องทำ คือ ให้เวลากับตัวเอง ถามตัวเองก่อนว่า ‘เราอยากเปลี่ยนงานจริง ๆ หรอ’ ‘สิ่งที่สำคัญกับชีวิตการทำงานในอนาคต คืออะไรกันแน่?’ ‘เป้าหมายในชีวิตของเราจริง ๆ คืออะไร?’ จากนั้นวิเคราะห์ศักยภาพของตัวเองด้วยว่า ทักษะความสามารถของเรามีอะไรบ้าง สิ่งไหนต้องพัฒนา แล้วงานที่ทำอยู่ช่วยพัฒนาทักษะเหล่านี้ได้หรือไม่ เป้าหมายของคุณและของบริษัทยังเป็นไปในทิศทางเดียวกันอยู่หรือเปล่า หากตอบคำถามเหล่านี้ได้ คุณก็สามารถหาทางออกได้ง่ายขึ้นเลยหละ

.

จัดการแผน Re-Onboarding ให้กับตัวเอง

โดยปกติแล้ว พนักงานที่เพิ่งเข้าทำงานมักจะได้รับการอบรมและพัฒนาพนักงานใหม่ หรือ Onboarding เพื่อให้พนักงานใหม่เข้าใจวัฒนธรรมองค์กรมากขึ้น เข้าใจสภาพแวดล้อมในการทำงานและสามารถปรับตัวเข้ากับเพื่อนร่วมงานได้เร็วขึ้น ยิ่งไปกว่านั้น Onboarding ยังช่วยกระตุ้นให้พนักงานใหม่รู้สึกตื่นตัวและพร้อมที่จะทำงานมากขึ้น ไอเดียใหม่ ๆ จะถูกรังสรรอยู่ในหัวจนแทบจะล้นออกมา อย่างไรก็ตาม เมื่อเราทำงานไปสักระยะหนึ่ง ความรู้สึกเหล่านั้นก็จะเริ่มจางหายไป ความตื่นตัวที่อยากจะมาทำงานในทุก ๆ เช้าเริ่มหมดลง

.

ทำไมเราไม่ลองวางแผน Re-Onboarding ให้ตัวเองดูหละ? จุดไฟในการทำงานของคุณขึ้นมาอีกครั้งเสมือนเพิ่งเข้ามาทำงานที่นี่ใหม่ เราอาจจะค้นพบบางสิ่งบางอย่างที่เป็นแนวทางหรือเป็นเป้าหมายใหม่ของเราก็ได้นะ

.

อย่าเป็นแค่ ‘ครู’ ให้เป็น ‘นักเรียน’ ด้วย

เป็นเรื่องปกติ เมื่อเราทำงานจนกลายเป็นผู้อาวุโสของบริษัท (ไม่ได้หมายถึง ‘อายุ’ นะคะ 😂 ) เมื่อมีพนักงานใหม่เข้ามาทำงาน เราก็จะกลายเป็นผู้สอนงาน เป็นพี่เลี้ยง หรือเรียกง่าย ๆ ว่าเป็น ‘ครู’ ของเหล่าน้องใหม่นั่นแหละ ข้อดีของหน้าที่ส่วนนี้ก็คือ จะช่วยให้เราได้ทบทวนวิธีการทำงานไปในตัวด้วย บางครั้งเมื่อบังเอิญเจอปัญหา เราอาจค้นพบวิธีแก้ไขที่ดีกว่าเดิม ส่วนเพื่อร่วมงานใหม่ของเราที่เรากำลังถ่ายทอดงานให้เขาอยู่ อาจจะช่วยให้เราได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ที่เราไม่เคยรู้ ไม่เคยเรียน เราก็เป็น ‘นักเรียน’ ของเขาได้เช่นกัน ไม่แน่ ไอเดียใหม่ ๆ เจ๋ง ๆ อาจจะได้มาจากพวกเขาเหล่านี้นี่แหละค่ะ

.

หากคุณทำตามวิธีที่ผู้เขียนแนะนำเพื่อรับมือและปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงแล้ว แต่คุณยังรู้สึกไม่พอใจ คุณอาจจะต้องเริ่มกลับไปคิดเรื่อง ‘การเปลี่ยนงาน’ บ้างแล้ว การทำงานอยู่ที่บริษัทเดิมนาน ๆ ก็มีข้อเสียเหมือนกัน ด้วยเหตุผลบางประการ เช่น เรื่องเงินเดือนของพนักงานใหม่ที่ได้รับมากกว่าคุณ ถึงแม้ว่าคุณจะทำงานมานาน คุณอาจะรู้สึกขุ่นเคืองหรือหมดกำลังใจ แต่นี้ก็เป็นเรื่องปกติที่บริษัทจำเป็นต้องจ้างพนักงานใหม่ด้วยก้อนเงินจำนวนมากแทนที่จะเพิ่มเงินเดือนให้พนักงานปัจจุบัน เพื่อดึงดูดผู้สมัครที่มีศักยภาพให้มาร่วมงานด้วย ถึงแม้บางครั้งมันจะมากกว่าค่าตอบแทนของ Senior Level บางคนด้วยซ้ำ

.

อย่างไรก็ตาม ‘การเปลี่ยนงาน’ อาจจะไม่ใช่เรื่องใหญ่อะไร แต่ก็ไม่ใช่เรื่องเล็กสำหรับบางคนเช่นกัน ลองพิจารณาดูว่า คุณยังสามารถเติบโตในบริษัทนี้ได้อีกไหม เมื่อต้องพิจารณาเรื่องการย้ายงานจริง ๆ ‘ตัวเลือก’ อื่น ๆ ที่คุณมี หรือที่กำลังมองหานั้น ดีกว่าหรือไม่ ดีกว่าอย่างไร และอย่าลืมว่า บริษัทปัจจุบันของคุณก็เป็น ‘ตัวเลือก’ หนึ่งเหมือนกันนะ หากวันหนึ่งคุณมีโอกาสได้กลับมาทำงานที่นี่อีกครั้งพร้อมกับการเติบโตที่ดีกว่าเดิม ก็เป็นโอกาสใหม่ในที่เก่าที่คุ้นเคยกัน แต่ถ้าจบกันไม่สวยละก็…โอกาสกลับมาซบอกบริษัทเก่าของคุณก็หมดไปเลยหละค่ะ

Reference : 

https://hbr.org/2021/09/when-everyones-quitting-except-you?ab=hero-main-text

https://missiontothemoon.co/softskill-colleague-resigned/

Related Content :

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *